ห้องเภสัชกรรมไทย

                   อันยาไทยมิใช่ไร้ในคุณค่า                         ต่างชาติมาคว้าไขว่ยอมได้หรือ

                   ภูมิปัญญาบรรพชนไทยอยู่ใกล้มือ                 ต้องยึดถือสืบสานตำนานเรา

                   สมุนไพรทั้ง ๕ นำมาใช้                            ทั้งรากใบดอกผลต้นของเขา

                   พิกัดยาแบ่งกลุ่มไว้ให้เรียนเอา                     เพื่อรู้เท่าในตำราเรื่องยาไทย

                   สมุนไพรของไทยเราเขาล่วงรู้                      ว่ามีอยู่ในแนวป่าหาน้อยไม่

                   ความหลากหลายทางชีวภาพต้องทราบไว้        อย่าปล่อยให้ใครพาพรากจากพื้นที่

                   สิทธิของไทยอย่าให้ใครมาย่ำยี                    ขมันขมีเร่งรัดพัฒนา

                   ต่อยอดภูมิปัญญาไทยเราให้ได้                    ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ไทยให้ก้าวหน้า

                   ช่วยกันใช้และผลักดันผลทันตา                    พึ่งตนเองก่อนเขามาค้าของไทย

 

          ประกอบด้วย เนื้อหา ๖ เรื่อง ได้แก่ ป่าสมุนไพร การเก็บยาสมุนไพร เภสัชวัตถุ สรรพคุณเภสัช คณาเภสัช และเภสัชกรรมแผนไทย โดยในแต่ละเรื่องมีสาระโดยสรุป ดังนี้

. ป่าสมุนไพร

          ในสมัยโบราณ มนุษย์เรียนรู้การเก็บพืชและจับสัตว์จากป่า มาประกอบเป็นอาหารในการดำรงชีวิตหากเกิดความเจ็บป่วย ก็ได้เรียนรู้นำสิ่งต่างๆ รอบตัวมาประกอบเป็นยาเพื่อใช้รักษาอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น ลองผิดลองถูกสั่งสมประสบการณ์กระทั่งเป็นภูมิปัญญาความรู้ของในแต่ละท้องถิ่นสืบต่อกันมา หากผู้ใดสนใจศึกษาจดจำจนมีความรู้ในการตรวจรักษาผู้อื่นได้ก็จะได้รับการยกย่องเป็น “หมอยา” มีการสอนถ่ายทอดกันสืบมาจนปัจจุบัน หากเป็น “หมอหลวง” จะได้รับพระราชทานกระบองแดงและย่าม เป็นสัญลักษณ์บอกให้คนทั่วไปทราบว่าหมอผู้นี้สามารถไปเก็บยาสมุนไพรได้ทั่วราชอาณาจักร

. การเก็บยาสมุนไพร

          จากประสบการณ์การใช้ยาและรักษาโรค ทำให้หมอยาเรียนรู้ว่าการเก็บสมุนไพรในช่วงใดจะได้สรรพคุณยาที่ดี ที่เหมาะสมในการนำมาทำยา การเก็บยาตามองค์ความรู้การแพทย์แผนไทย เช่น การเก็บยาตามฤดู ตามทิศ ตามวัน ตามเวลา ยกตัวอย่างการเก็บสมุนไพรจำพวกหัว เหง้า แก่น ราก ต้องเก็บในฤดูร้อน การเก็บสมุนไพรจำพวกใบ ดอก ลูก ฝัก ต้องเก็บ ในฤดูฝน เป็นต้น

. เภสัชวัตถุ

          เภสัชวัตถุ คือ ตัวยาต่างๆ ที่ได้จากธรรมชาติ ซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างภายใน สามารถนำมาใช้ปรุงหรือผลิตเป็นยารักษาโรค แต่ละชนิด จะมี รูป ลักษณะ สี กลิ่น รส แตกต่างกันไป องค์ความรู้การแพทย์แผนไทยแบ่งเภสัชวัตถุ เป็น ๓ ประเภท ได้แก่ พืชวัตถุ สัตว์วัตถุ ธาตุวัตถุ

          พืชวัตถุ คือ ส่วนต่างๆ ของพืชต่างๆ ที่นำมาทำเป็นยา จำพวกต้น จำพวกเถา-เครือ จำพวกหัว-เหง้า จำพวกผัก จำพวกหญ้า จำพวกเห็ดต่างๆ มาใช้รักษาโรคได้แก่ ต้น แก่น ใบ หัว เหง้า ราก กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกต้น เปลือกลูก เปลือกฝัก เปลือกเมล็ด เปลือกราก ดอก เกสร กิ่ง ก้าน หรือใช้ทั้ง ๕ ทำยา ๕ ประการของมันคือ รูปลักษณะ สี กลิ่น รส และชื่อว่าเป็นเช่นไร เช่น รากย่านาง เนื้อไม้กฤษณา ดอกมะลิ แก่นฝาง เปลือกอบเชย ผลมะขามป้อม เกสรบัวหลวง

          สัตว์วัตถุ ได้แก่ สัตว์ ๔ จำพวก คือ สัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์อากาศ และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ โดยจะนำเอาร่างกายหรืออวัยวะต่างๆ ไปประกอบเป็นยารักษาโรค เช่น  ขน หนัง เขา นอ เขึ้ยว ฟัน กรวด กราม ดี หัว หาง เล็บ กีบ กระดูก เนื้อ เอ็น เลือด น้ำมัน มูล เป็นต้น เช่น ไขชะมด เขากวาง เปลือกหอย ดีหมูป่า กระดองเต่า

          ธาตุวัตถุ ได้แก่ ธาตุต่างๆ  ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือสิ่งที่เกิดขึ้นจากแร่ธาตุตามกรรมวิธีต่างๆ มี ๒ จำพวก คือ จำพวกสลายตัวง่าย หรือสลายตัวอยู่แล้วตามธรรมชาติ และจำพวกสลายตัวยาก เพื่อนำไปใช้ทำเป็นยา เช่น กำมะถัน จุนสี สารส้ม การบูร พิมเสน เกลือ

. สรรพคุณเภสัช

          คือสรรพคุณของเภสัชวัตถุ (พืช สัตว์ แร่ธาตุ) ที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาโรค ซึ่งตามองค์ความรู้การแพทย์แผนไทยนั้น รสของยาจะบ่งบอกถึงสรรพคุณ เช่น รสหวาน มีสรรพคุณซึมซาบไปตามเนื้อ บำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย รสขม มีสรรพคุณ บำรุงโลหิตและ ดี แก้ไข้เพื่อดี เจริญอาหาร แก้ร้อนในกระหายน้ำ เป็นต้น

. คณาเภสัช

          การจัดหมวดหมู่ตัวยาตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไปมารวมกัน และกำหนดเรียกชื่อของกลุ่มตัวยานั้น เพื่อสะดวกในการเรียนรู้ จดจำบันทึก และเขียนตำรับยา แบ่งออกเป็นจุลพิกัด พิกัดยา มหาพิกัด

          จุลพิกัด คือ พิกัดที่มีตัวยา ๒ สิ่ง เช่น อบเชยไทย อบเชยเทศ เบี้ยจั่น เบี้ยผู้ จันทน์แดง จันทน์ขาว

          พิกัดยา คือ พิกัดที่มีตัวยาตั้งแต่ ๒ สิ่งขึ้นไป รวมเรียกเป็นชื่อเดียวกัน ตัวยามีน้ำหนักเท่ากัน เช่น ตรีผลา เบญจกูล มหาพิกัด คือ พิกัดที่มีตัวยาหลายสิ่ง ตัวยาแต่ละสิ่งหนักไม่เท่ากัน เช่น มหาพิกัดทศเบญจขันธ์

. เภสัชกรรมไทย

          การปรุงยาเริ่มตั้งแต่ การเตรียมสมุนไพร แปรรูป นำมาผลิตในรูปแบบต่างๆ ตามองค์ความรู้การแพทย์แผนไทย ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น รูปแบบยาน้ำยาผง ยาเม็ด ยาลูกกลอน ยาน้ำมัน ยาขี้ผึ้ง เป็นต้น

          .๑ เครื่องมือทางเภสัชกรรมไทย

                    เครื่องมือลดขนาดตัวยา เช่น มีด มีดสับยา

                    เครื่องมือชั่ง-ตวงยา เช่น ตาชั่ง ๒ แขน

                    เครื่องมือบดผสม เช่น หินบดยา โกร่งบดยา รางบดยา

                    เครื่องมือการขึ้นรูปตัวยา เช่น รางกลิ้งยาลูกกลอน พิมพ์ทองเหลือง

          ๖.๒ การเตรียมตัวยา

                    ตัวยาสมุนไพรบางชนิดจำเป็นต้องผ่านกระบวนการบางอย่างก่อนที่จะนำมาใช้ปรุงยาเพราะตัวยานั้นมีฤทธิ์แรงเกินไป ไม่สะอาดหรือมีการปนเปื้อนของเชื้อโรค มีปริมาณความชื้นมากเกินไป มีพิษมาก เป็นต้น ซึ่งตามภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มีการเตรียมเครื่องยาหลายวิธี เช่น การสะตุ การประสะ การฆ่าฤทธิ์ อาทิ การสะตุ รงทอง ในตำรับยาเบญจอำมฤตย์ ทำโดยนำรงมาใส่ในผลมะกรูดแล้วห่อด้วยขี้ควายนำไปปิ้งให้สุกดี จึงนำรงทอง มาใช้ได้

          .๓ ยาแผนไทย

                    ตำรับยาปรุงสำเร็จรูปที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย สะดวก และปลอดภัย เพื่อใช้รักษาอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นได้ด้วยตนเอง กระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาแก้ไข้ ได้แก่ยาจันทน์ลีลา ยาประสะจันทน์แดง ยาเขียวหอม ยามหานิลแท่งทอง ยาแก้ท้องเสีย ได้แก่ ยาเหลืองปิดสมุทร ยาธาตุบรรจบ ยาแก้ไอ ขับเสมหะ ได้แก่ ยาอำมฤควาที ยาประสะมะแว้ง ยาหอม ได้แก่ ยาหอมเทพจิตร ยาหอมทิพโอสถ ยาหอม อินทจักร์ ยาหอมนวโกฐ ยาสำหรับเด็ก ได้แก่ ยาประสะกะเพรา ยาแสงหมึก ยาตรีหอม ยามหาจักรใหญ่ ยาประสะเปราะใหญ่

ห้องเภสัชกรรมไทย (1) ห้องเภสัชกรรมไทย (3) ห้องเภสัชกรรมไทย (4) ห้องเภสัชกรรมไทย (5) ห้องเภสัชกรรมไทย (6)
ห้องเภสัชกรรมไทย (7) ห้องเภสัชกรรมไทย (8) ห้องเภสัชกรรมไทย (9) ห้องเภสัชกรรมไทย (10) ห้องเภสัชกรรมไทย (11)
ห้องเภสัชกรรมไทย (12) ห้องเภสัชกรรมไทย (13) ห้องเภสัชกรรมไทย (14) ห้องเภสัชกรรมไทย (15)  

 

         

377467
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
846
1190
3568
370192
12349
14048
377467

โมบายแอปพลิเคชัน

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้​ 

 

appstore

 

playstore

ติดตาม สถาบันการแพทย์แผนไทย

ผ่านทางโซเชียลมีเดีย​ได้ที่ 

 

 facebook

YouTube

 

 

 

logo MOPH

สถาบันการแพทย์แผนไทย

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

เลขที่ 88/23 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ : (+66) 0-2590-2600

โทรสาร : (+66) 0-2590-2600